แนวปฏิบัติ การวัดผลประเมินผล
โรงเรียนท่ามะกาวิทยาคม
หลักการและเหตุผล
โรงเรียนท่ามะกาวิทยาคมได้ใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานตั้งแต่ปีการศึกษา
2545 เป็นต้นมา โดยโรงเรียนมีหลักสูตรสถานศึกษา
และระเบียบสถานศึกษาว่าด้วยการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2544 ใช้มาแล้วมีนักเรียนจบในหลักสูตรนี้ 1 รุ่น
โรงเรียนได้ประเมินการใช้หลักสูตรแล้วพบปัญหาการใช้หลักสูตรคือ
ครูยังไม่เข้าใจการวัดผลประเมินผลทำให้มีความแตกต่างระหว่างครูผู้สอน เพื่อให้การวัดผลประเมินผลปฏิบัติในแนวทางเดียวกัน
งานทะเบียนวัดผลประเมินผลจึงได้จัดทำแนวปฏิบัติดังนี้
1.
วิธีปฏิบัติการวัดประเมินผลในสมุด ปพ.5
(สมุดบันทึกเวลาเรียนและการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน)
มีแนวปฏิบัติดังนี้
1.
กำหนดแผนการประเมินผลที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญให้มีอัตราส่วนด้านความรู้(K) ภาระงาน(P)
ด้านจิตพิสัย(A) ในอัตราส่วนโดยประมาณ 5:4:1
ในกลุ่มวิชาสามัญ ใช้อัตราส่วน 3:6:1
ในกลุ่มวิชาปฏิบัติ
2.
การประเมินผลให้ประเมินตามข้อของผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
ถ้านักเรียนประเมินไม่ผ่านเกณฑ์ให้ซ่อมเสริมแล้วประเมินใหม่ โดยกรอกคะแนนตามที่นักเรียนได้จริง
ถ้าไม่ผ่านเกณฑ์ลงคะแนนด้วยดินสอก่อนเมื่อซ่อมเสริมและผ่านการประเมินแล้วจึงลงคะแนนด้วยปากกา
หรือเครื่องหมาย / แสดงคะแนนก่อนซ่อมเช่น คะแนนเต็ม 10
ประเมินได้3 เมื่อซ่อมแล้วให้ 5 เขียน 3/5
คะแนนที่ได้ไม่ควรเกินครึ่งหนึ่งของคะแนนเต็ม
3.
ให้หัวหน้ากลุ่มสาระติดตามการวัดผลประเมินให้เป็นเรื่องสำคัญ
และเก็บหลักฐานเป็นผลการปฏิบัติงานของครูเพื่อพิจารณาการทำงานต่อไป
2.
วิธีการส่งผลการสอบซ่อม
จากการที่ในแต่ละปีการศึกษา
มีนักเรียนไม่จบหลักสูตรจำนวนมาก ผู้ปกครอง บางคนก็ไม่รู้ว่านักเรียนไม่จบหลักสูตร
หรือนักเรียนสอบซ่อมแล้วแต่ทะเบียนยังไม่ได้แก้ให้อันเนื่องจากเหตุผลต่าง ๆ
จนบางครั้งไม่สามารถบอกผู้ปกครองได้อย่างชัดเจน โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
1.
เพื่อเป็นการตรวจสอบข้อมูลการสอบซ่อม
2.
เพื่อเป็นสารสนเทศ สถิติการสอบซ่อม
3.
เพื่อให้ครูประจำวิชาได้ติดตามและดำเนินการสอบให้นักเรียนผ่านให้มากขึ้น
4.
ให้นักเรียน ครู ผู้ปกครอง
สามารถดูหลักฐานการสอบซ่อมของนักเรียนได้ สะดวกขึ้น
5.
เพื่อประเมินการปฏิบัติงานของครู
การส่งผลการสอบซ่อมของครูจะดำเนินการให้รัดกุมยิ่งขึ้นโดยปฏิบัติดังนี้
1.
อาจารย์ประจำวิชาต้องขออนุมัติผลการเรียนสำหรับนักเรียนที่ติด
ร และรายวิชาที่มีจำนวนนักเรียนติด 0 มากกว่าร้อยละ
5 ตามปฏิทินปฏิบัติงาน
2.
เขียนชื่อนักเรียนทุกคนที่ติด 0,ร,มส
เรียงตามห้องและเลขที่ (ตามแบบฟอร์ม) ให้นักเรียนลงชื่อ รับทราบผลการสอบพร้อมมอบหลักฐานผลการสอบให้นักเรียนเก็บเป็นหลักฐาน
3.
ส่งผลซ่อมครั้งที่ 1 ตามวันที่กำหนด พร้อมลงชื่อผู้ส่งใน
บัญชีการส่งผลการสอบซ่อม
4.
เขียนชื่อนักเรียนทุกคนที่ยังติด 0,ร,มส จากการซ่อมครั้งที่ 1 เพื่อเตรียมการสอบซ่อมครั้งที่ 2
5.
ทำหลักฐานการติดตามการสอบซ่อมทั้ง 2 ครั้ง
เช่นบันทึกรับทราบการสอบซ่อม หรือบันทึกของครูที่ได้ติดตามการซ่อมของนักเรียน(แบบติดตามให้ครูทำเอง)
6.
ส่งผลครั้งที่ 2 ตามวันที่กำหนด พร้อมลงชื่อส่ง
ตามแบบที่งานทะเบียนกำหนด สรุปผลนักเรียนที่ยังซ่อมไม่ผ่าน พร้อมสาเหตุการซ่อมไม่ผ่าน
และมอบสำเนาหลักฐานการติดตามนักเรียนเฉพาะที่ไม่จบ
เพื่อเป็นหลักฐานให้ผู้ปกครองทราบ
3.
วิธีการติดตามช่วยเหลือและตรวจสอบผลการเรียน
เพื่อให้การตรวจสอบผลการเรียน การสืบค้นข้อมูล
นักเรียน และบุคลากร ตรวจสอบและค้นหาได้ง่ายขึ้นงานทะเบียนวัดผลได้จัดทำเวปไซต์
ในการสืบค้นข้อมูล โดยที่ครูทุกคนเป็นสมาชิกสามารถ
Login เข้าไปดูข้อมูลต่างๆ ที่ เวปไซต์ http://gpa.tmk.ac.th
ในกรณีที่ อยู่ที่โรงเรียน อาจพิมพ์ http://gpa
ได้ เป็นการดูในระบบ Intranet ของเครือข่ายในโรงเรียน
ต่อไปนี้ครูทุกคนไม่จำเป็นต้องไปขอดูข้อมูลที่ห้องทะเบียนอีกต่อไป
ถ้าต้องการแก้ไขข้อมูลครู นักเรียน หรือเพิ่มเติมข้อมูลแจ้งโดยตรงที่ครูวัฒนา
ปลาตะเพียนทอง หรือจะแจ้งใน เมนู ถาม-ตอบ(WebBoard) ก็ได้
*
กรณีที่ครูต้องการดูข้อมูลนักเรียน , ครู ที่มีรายละเอียดมาก ๆ เช่นที่อยู่ เบอร์-โทรศัพท์ที่ต้องการติดต่อนักเรียน
ผลการเรียน และข้อมูลอื่นๆ อีกมาก
ตัวอย่าง
นายวัฒนา ปลาตะเพียนทอง
เกิดวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2514 (สมมติ)
ให้พิมพ์เฉพาะ
ชื่อ ไม่มีคำนำหน้าชื่อ หรือนามสกุล
ลงในช่องสี่เหลี่ยม และในช่อง
วันเกิด ให้พิมพ์ 08/02/2514